วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558

นิทานสัทธรรมคดี (คำแนะนำ)




นิทานสัทธรรมคดี

โดย เทพ สุนทรศารทูล




คำแนะนำ

นิทานสัทธรรมคดี คือนิทานสัจธรรมคดี แปลว่า เล่าเรื่องจริงให้ฟัง  ในภาษาบาลีนั้น ถ้าคำสมาสต่อท้ายขึ้นต้นด้วยตัว ธ. คำท้ายของคำนั้นต้องเป็นอักษร ท.  คำว่า “สัจธรรม” จึงต้องเปลี่ยนเป็น “สัทธรรม” แปลตามตัวว่า “เรื่องจริง”  นิทาน แปลว่า เล่าเรื่องให้ฟัง  นิทานชาดก แปลว่า เล่าเรื่องผู้เกิดในชาติก่อนให้ฟัง
คือพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรลุญาณพิเศษเรียกว่า “บุพเพนิวาสานุสติญาณ” คือ ญาณรู้แจ้งเรื่องชาติก่อน  จึงทรงเล่านิทานชาดกให้พระสาวกฟัง เพื่อสอนธรรมให้เห็นของจริง  นอกจากนั้นยังทรงบรรลุญาณพิเศษอีกอย่างหนึ่งที่เรียกว่า “จุตูปปาตญาณ” (จุติ+อุบัติ) คือญาณที่รู้แจ้งเรื่องการจุติ (ตาย) และอุบัติ (เกิด) ของสัตว์อื่น ว่าสัตว์นั้นชาติก่อนเกิดเป็นอะไร ตายไปเป็นอะไร แล้วเกิดมาชาตินี้ด้วยวิบากกรรมอันใด  พระญาณพิเศษสองอย่างนี้แหละ จึงทรงทราบย้อนหลังไปหลายแสนหลายล้านปีว่า พระองค์เคยเกิดเป็นอะไรมาบ้างในชาตินั้นๆ  และทรงทราบว่าคนนั้นเคยเกิดเป็นอะไรในชาติก่อน ด้วยวิบากกรรมอันใด จึงเกิดมาในชาตินี้เป็นคนอายุสั้น, อายุยืน, รูปงาม, รูปชั่ว, สูงศักดิ์, ต่ำศักดิ์, มีปัญญาดี, มีปัญญาทราม, โรคมาก, โรคน้อย, รวย, จน,  เพราะกรรมจำแนกสัตว์ให้แตกต่างกันไปตามบุญกรรมของตนในชาติปางก่อน และกรรมในชาตินี้ประสมกัน ทำให้วิถีชีวิตผิดแผกแตกต่างกัน  พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเล่านิทานชาดกไว้มากมาย ล้วนแต่ทรงเล่าจากเรื่องจริงในชาติปางก่อนทั้งหมดทั้งสิ้น... (*)

เทพ สุนทรศารทูล
        ๘ เมษายน ๒๕๓๘




* หมายเหตุผู้ทำบล็อก

การพิมพ์เผยแพร่หนังสือ "นิทานสัทธรรมคดี" ในบล็อกนี้ 
จะพิมพ์แต่เฉพาะส่วนร้อยกรองที่เป็นเรื่องชาดก ๔๖ เรื่อง 
อันเป็นเนื้อหาหลักของหนังสือเท่านั้นค่ะ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น